
ปัจจุบันสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ถือเป็นสถานีหลักในการวิจัยไม้ดอกไม้ประดับเขตหนาว และไม้ผลเขตหนาวขนาดเล็ก รวมถึงการขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พืชผัก พืชไร่ ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านไม้ดอกและไม้ประดับที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งบนพื้นที่สูง
สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ราษฎรที่อาศัยบนพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขา ซึ่งเดิมมักบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ เพื่อทำไร่เลื่อนลอปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด และฝิ่น ส่งผลให้กลายสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยเหลือชาวเขาเหล่านั้นให้มีพื้นที่ทำกินเป็นหลักแหล่งส่งเสริมการปลูกพืชทดแทนฝิ่น ถ่ายทอดวิชาความรู้ทางด้านการเกษตรกรแผนใหม่ เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้สูงขึ้น บุกรุกทำลายป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร ด้วยการให้เกษตรกรหันมาทำการเกษตรแบบถาวร อันเป็นที่มาของการจัดตั้ง “สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์” ในปี พ.ศ. 2522 ณ บริเวณบ้านขุนกลาง เพื่อเป็นสถานีวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวงอีกแห่งหนึ่งดำเนินงานวิจัยด้านไม้ตัดดอก ไม้ประดับ พืชผัก และไม้ผลขนาดเล็ก รวมทั้งถ่ายทอดผลงานวิจัย อันนำไปสู่การส่งเสริมอาชีพ เพื่อให้เป็นรายได้ของครอบครัวเกษตรกรชาวเขาในหมู่บ้านรอบ ๆ สถานี ตลอดจนการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานการพัฒนาทางสังคม และการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธาร
สถานที่ตั้งและลักษณะทั่วไป
3.1 ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ดำเนินงานจำนวน 4 แห่ง รวมพื้นที่ 513 ไร่ ประกอบด้วยสถานีฯ (บ้านขุนกลาง) 89.5 ไร่, หน่วยวิจัยขุนห้วยแห้ง 193.0 ไร่, หน่วยแม่ยะน้อย 110.0 ไร่ และหน่วยผาตั้ง 120.5 ไร่
3.2 ภูมิประเทศ เป็นหุบเขาชันมีความลาดเท ตั้งแต่ 10-60 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 600-1,380 เมตร ลักษณะดินเป็นดินตะกอนและดินเหนียว มี pH ที่ 6.2-7.5 ดินมีความอุดมสมบูรณ์ดีและปานกลาง
3.3 ภูมิอากาศ อุณหภูมิเฉลี่ยฤดูร้อน 30 องศาเซลเซียส ฤดูฝน 22.6 องศาเซลเซียส ฤดูหนาว 17.1 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ย เฉลี่ยต่ำสุด 14 องศาเซลเซียส สูงสุด 26 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี 246.39 มิลลิเมตร
ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา แสดงข้อมูลอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน ปี 2554
เดือน |
อุณหภูมิเฉลี่ย(องศาเซลเซียส) |
ปริมาณน้ำฝน (มิลลิเมตร) |
|
ต่ำสุด |
สูงสุด |
||
มกราคม |
8.00 |
23.00 |
20.04 |
กุมภาพันธ์ |
10.00 |
26.00 |
- |
มีนาคม |
15.00 |
25.00 |
200.16 |
เมษายน |
14.00 |
28.00 |
233.61 |
พฤษภาคม |
17.00 |
28.00 |
464.86 |
มิถุนายน |
18.00 |
27.00 |
386.11 |
กรกฎาคม |
18.00 |
28.00 |
226.36 |
สิงหาคม |
17.00 |
28.00 |
441.61 |
กันยายน |
18.00 |
26.00 |
462.64 |
ตุลาคม |
15.00 |
26.00 |
490.78 |
พฤศจิกายน |
12.00 |
24.00 |
30.52 |
ธันวาคม |
9.00 |
23.00 |
0.00 |
เฉลี่ยรายปี |
14.00 |
26.00 |
246.39 |
ที่มา : หน่วยจัดการต้นน้ำแม่กลาง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
3.4 ประชากรที่อยู่อาศัย ประกอบด้วยเผ่าม้ง 2,140 คน และเผ่ากะเหรี่ยง 1,561 คน รวม 3,701 คน
จำนวน 630 ครัวเรือน ในพื้นที่ 8 หมู่บ้าน 14 หย่อมบ้าน มีพื้นที่ส่งเสริม 7 กลุ่มบ้าน ได้แก่ กลุ่มบ้านเมืองอาง แม่แอบ ผาหมอน-หนองหล่ม แม่กลางหลวง บ้านขุนกลาง แม่ยะน้อย ปางหินฝน