
สถานีเกษตรหลวงอ่างขางเป็นสถานีที่สำคัญเทศไทยในการวิจัยพืชเขตหนาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ผลเขตหนาว ไม้ป่าโตเร็ว พืชผัก สมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ ชาจีน ฯ การดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. การศึกษาวิจัยพืช เมืองหนาวได้แก่ ไม้ผล พันธุ์ไม้โตเร็ว ไผ่ พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ กุหลาบสายพันธุ์ต่าง ๆ สมุนไพร ชาจีน ลินิน
2. งานถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรบนพื้นที่สูง เป็นแหล่งวิชาการและเป็นศูนย์การเรียนรู้ เป็นสถานที่ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ เกษตรกร นักศึกษาจากสถาบันและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
3. งานพัฒนาและส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกรชาวเขา โดยมีส่วนราชการต่าง ๆ ร่วมดำเนินงานในรูปของคณะทำงานศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอ่างขาง
|
|
|
สถานีเกษตรหลวงอ่างขางเป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2512 ตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีพระราชประสงค์ให้ชาวไทยภูเขาที่อาศัยอยู่ตามดอยต่าง ๆ ทางภาคเหนือเลิกการปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอยอันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ป่าไม้และต้นน้ำลำธารของประเทศถูกทำลาย สถานีเกษตรหลวงอ่างขางเป็นสถานีที่ทดลอง ค้นคว้าวิจัยพืชเมืองหนาวเพื่อนำผลการทดลอง ค้นคว้า และวิจัยไปส่งเสริมให้ชาวไทยภูเขาในพื้นที่ปลูกทดแทนฝิ่น
|
สถานที่ตั้งและลักษณะทั่วไป
3.1 ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านคุ้มหมู่ที่ 5 ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตร พื้นที่ประมาณ 1,811 ไร่
3.2 ภูมิประเทศ บริเวณดอยอ่างขางมีลักษณะเป็นแอ่งรูปรีคล้ายกะทะประกอบด้วยเขาหินปูน และเขาหินดินดาน ความลาดชันของพื้นที่ไหล่เขาสองด้านระหว่าง 15 - 45 เปอร์เซ็นต์ ยอดเขาที่สูงที่สุดของเทือกเขาอ่างขางสูงประมาณ 1,920 เมตร พื้นที่ราบบริเวณที่ตั้งของสถานีฯ สูง 1,400 เมตร ลาดจากเหนือลงใต้
3.3 ภูมิอากาศ มีอากาศหนาวเย็นยาวนานและมีอุณหภูมิต่ำมากในฤดูหนาว ภูมิอากาศปี 2554 อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 13.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 22.0 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน (ต.ค.52-ก.ย.54) รวม 2,394.30 มิลลิเมตร
สรุปรายงานตรวจวัดอากาศสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ประจำปี งบประมาณ 2554 (ตุลาคม 2553-กันยายน 2554)
ลำดับ | เดือน | อุณหภูมิเฉลี่ย ( ํซ.) | ความชื้นเฉลี่ย (%) | ปริมาณน้ำฝน | น้ำระเหยเฉลี่ย | ||||
ที่ | สูงสุด | ต่ำสุด | เฉลี่ย | สูงสุด | ต่ำสุด | เฉลี่ย | (มม.) | (มม./ วัน) | |
1 |
ตุลาคม 53 |
21.5
|
16.4
|
19.0
|
85.1
|
62.3
|
73.7
|
223.7
|
2.43
|
2 |
พฤศจิกายน 53 |
20.0
|
10.1
|
15.0
|
88.2
|
49.4
|
68.8
|
2.0
|
1.94
|
3 |
ธันวาคม 53 |
20.3
|
8.7
|
14.5
|
88.0
|
46.9
|
67.4
|
7.0
|
1.59
|
4 |
มกราคม 54 |
19.3
|
8.0
|
13.6
|
89.2
|
46.6
|
67.9
|
18.2
|
1.79
|
5 |
กุมภาพันธุ์ 54 |
22.4
|
6.4
|
14.4
|
90.3
|
26.9
|
58.6
|
0.0
|
2.92
|
6 |
มีนาคม 54 |
21.4
|
10.8
|
16.1
|
89.0
|
44.5
|
66.8
|
125.4
|
2.69
|
7 |
เมษายน 54 |
23.7
|
14.1
|
18.9
|
87.5
|
45.2
|
66.3
|
237.7
|
4.27
|
8 |
พฤษภาคม 54 |
23.6
|
17.4
|
20.5
|
86.0
|
57.4
|
71.7
|
376.0
|
3.97
|
9 |
มิถุนายน 54 |
23.3
|
18.4
|
20.8
|
74.6
|
54.8
|
64.7
|
233.9
|
5.06
|
10 |
กรกฎาคม 54 |
23.5
|
18.3
|
20.9
|
86.0
|
65.3
|
75.6
|
304.4
|
2.76
|
11 |
สิงหาคม 54 |
22.2
|
17.9
|
20.0
|
85.4
|
73.5
|
79.5
|
429.6
|
3.11
|
12 |
กันยายน 54 |
22.9
|
18.0
|
20.5
|
86.6
|
74.6
|
80.6
|
436.4
|
2.78
|
เฉลี่ย |
22.0
|
13.7
|
17.9
|
86.3
|
54.0
|
70.1
|
199.5
|
2.94
|
3.4 ประชากรที่อยู่อาศัย มี 9 หมู่บ้านที่รับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ดังนี้ หมู่บ้านส่งเสริมหลัก 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านขอบด้ง บ้านนอแล บ้านหลวง บ้านคุ้ม และ บ้านปางม้า หมู่บ้านส่งเสริมรอง 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านผาแดง บ้านถ้ำง๊อบ บ้านสินชัย และบ้านป่าคา ประชากร มี 4 ชนเผ่า ได้แก่ ไทยใหญ่ มูเซอดำ ปะหล่อง และ จีนยูนนาน